บทสรุปสำหรับผู้บริหาร |
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน
มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพทางเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2553 ราคาคงที่มีมูลค่า 25,678 ล้านบาท อุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เกษตรกรรม (ร้อยละ 32.88 ของ GPP) 2) การค้าส่งและค้าปลีก ซ่อมแซมยานยนต์และของใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 17.98 ของ GPP) 3) อุตสาหกรรมการผลิต (ร้อยละ 8.60 ของ GPP ) ดัชนีผู้บริโภคของจังหวัดเพชรบูรณ์เดือนธันวาคม 2554 เท่ากับ 121.8 สูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 2.6 การจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ มีจำนวน 17 แห่ง ทุนจดทะเบียน 19.9ล้านบาท อุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุด คือ 1) การก่อสร้าง ทุนจดทะเบียน 5.5 ล้านบาท 2) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ทุนจดทะเบียน 4.7ล้านบาท มีโรงงานได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในไตรมาสนี้ จำนวน 17 โรง สามารถจ้างงานได้ 119 คน เงินทุน 929,351,000 บาท มีโรงงานที่เลิกกิจการ จำนวน 23 โรง
สถานการณ์ด้านแรงงาน
กำลังแรงงาน จังหวัดเพชรบูรณ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2554 จำนวนประชากรรวมจังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 845,559 มีผู้อยู่ในกำลังแรงงานรวม 606,939 คน ผู้มีงานทำ 613,876 คน ผู้ว่างงาน 3,093 คน กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล 1,254 คน
การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 609,529 คน คิดเป็นร้อยละ 99.29 ของกำลังแรงงานรวม เป็นผู้ทำงานในภาคเกษตร จำนวน 362,052 คน ร้อยละ 59.40 ของผู้มีงานทำ เป็นผู้ทำงานนอกภาคเกษตร จำนวน 247,447 คน ร้อยละ 40.60โดยทำงานในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนมากที่สุด จำนวน 83,895 คน หรือร้อยละ 33.90ของผู้ทำงานนอกภาคเกษตร รองลงมาคือ การผลิต จำนวน 35,612 หรือร้อยละ 14.39 และผู้มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 210,156 คน คิดเป็นร้อยละ 34.48 ของผู้มีงานทำ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ร้อยละ 33.08
การว่างงาน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผู้ว่างงานจำนวน 3,093 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.50
การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่างจำนวน 600 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 1,465 คน ได้รับการบรรจุงาน 998 คน การบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่าง ร้อยละ 166.33 อาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างสูงสุด คือ อาชีพงานพื้นฐาน จำนวน 512 อัตรา รองลงมาผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ จำนวน 27 อัตรา โดยอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด ได้แก่ อาชีพงานพื้นฐาน ร้อยละ 80.26 (801 คน) สำหรับตำแหน่งงานว่างจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมนั้น อุตสาหกรรมการผลิตมีตำแหน่งงานว่างมากที่สุดคือ การผลิต ร้อยละ 43.50 (261 อัตรา) รองลงมา การขายส่งขายปลีกการซ่อมแซมยานยนต์รถจักยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนร้อยละ 4.50 (27 อัตรา)
หมายเหตุ : การบรรจุงานที่นายจ้างแจ้งการบรรจุงานในไตรมาสนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการแจ้งบรรจุงานตามตำแหน่งงานว่างของไตรมาสที่ผ่านมา และเป็นการส่งไปบรรจุงานในจังหวัดใกล้เคียง จึงทำให้อัตราการบรรจุงานมากกว่าตำแหน่งงานว่าง
แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์มีผู้ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยวิธีแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง (Re-Entry) จำนวน 98 คน โดยภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย และสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 39 คน (ร้อยละ 61.54), ตะวันออกกลาง จำนวน 6 คน (ร้อยละ 15.38), แอฟริกา จำนวน 4 คน (ร้อยละ 10.26)และภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 12.82) ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 53.84
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน สำหรับการฝึกฝีมือแรงงาน ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 มีการฝึกดังนี้ การยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 258 คน ผ่านการฝึก 238 คน (ร้อยละ 92.25) โดยกลุ่มอาชีพที่ฝึกยกระดับฝีมือสูงสุด คือ ธุรกิจและบริการ มีจำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 53.10 ของผู้รับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน สำหรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานนั้นมี จำนวน 108 คน ผ่านการทดสอบ 75 คน คิดเป็นร้อยละ 69.44 ของผู้เข้าทดสอบ โดยกลุ่มอาชีพที่ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสูงสุด คือ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ มีจำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 49.07 รองลงมาเป็นช่างก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 36.11 (จำนวน 39 คน) ส่วนการฝึกเสริมทักษะฝีมือแรงงานมีผู้เข้ารับการฝึกทั้งสิ้น 131 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของผู้เข้ารับการฝึกเสริมทักษะฝีมือ โดยกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกคือ ช่างธุรกิจและบริหาร มีจำนวน 54 คน (ร้อยละ 41.22) และการฝึกเข้าเตรียมเข้าทำงาน มีผู้เข้ารับการฝึก จำนวน 26 คน การฝึกเตรียมเข้าทำงานผ่าน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 42.31 ของจำนวนผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน กลุ่มอาชีพที่ฝึกมากที่สุดช่างอุตสาหการ จำนวน 10 คน (ร้อยละ 38.46)
การคุ้มครองแรงงาน ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 จากการตรวจสถานประกอบการ ทั้งสิ้น 76 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 733 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่ร้อยละ 80.26 เป็นสถานประกอบการขนาด 1- 9 คน โดยสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 100.00
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 49 แห่ง ลูกจ้าง จำนวน 438 คน ประเภทอุตสาหกรรมมีการตรวจมากที่สุดคือ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน จำนวน 31 แห่ง (ร้อยละ 63.27) ลูกจ้าง จำนวน 266 คน รองลงมาเป็นการผลิต จำนวน 9 แห่ง (ร้อยละ 18.36) ลูกจ้างมี จำนวน 106 คน โรงแรมและภัตตาคาร จำนวน 4 แห่ง (ร้อยละ 8.16) มีลูกจ้าง 35 คน การก่อสร้าง จำนวน 4 แห่ง (ร้อยละ 8.16) ลูกจ้าง จำนวน 28 คน และกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและกิจกรรมทางธุรกิจ จำนวน 1 แห่ง (ร้อยละ 2.04) มีลูกจ้าง จำนวน 3 โดยผลจากการตรวจ มีสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 43 แห่ง (ร้อยละ 87.76) และปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 6 แห่ง (ร้อยละ 12.24)
กองทุนประกันสังคม ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 จำนวนการใช้บริการกองทุนประกันสังคม มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน 6,940 ราย พิจารณาตามประเภท ของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และ ว่างงาน จ่ายเงินกองทุน จำนวนทั้งสิ้น 50,930166.27 สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่จ่ายเงินทดแทนสูงสุดในไตรมาสนี้ได้แก่ กรณีคลอดบุตร จ่ายเงินทดแทน จำนวน 19,017,870.50 บาท มีผู้ประกันตนใช้บริการ 915 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.18 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด
กองทุนเงินทดแทน ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 มีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 1,738 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 21,426 ราย สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนมีสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 11 แห่ง คือโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และโรงพยาบาลอำเภอทุกแห่ง ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 มีจำนวนผู้ประสบอันตรายมาใช้บริการกองทุน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยแล้ว จำนวน 144 ราย จ่ายเงินทดแทนจำนวนทั้งสิ้น 1,331,836 บาท
สามารถดาวน์โหลดสถานการณ์แรงงานไตรมาส 4 ปี 2554 ได้ที่ http://www.phetchabun.mol.go.th/ (เมนูดาวน์โหลด)